สิ่งที่ควรทำเมื่อคุณขับรถชน

สิ่งควรทำเมื่อขับรถชนในปัจจุบันมีรถยนต์เพิ่มขึ้นมามายบนท้องถนน โดยสังเกตุจากการที่มีรถป้ายแดงจำนวนมากมายบนท้องถนน ด้วยเหตุนี้จึงเขียนบทความนี้ขึ้นมา เพื่อให้นักขับรถมือใหม่ป้ายแดงได้เข้าใจ และมีสติกรณีที่เกิดอุบัติเหตุบนถนน หรือ เหตุการณ์ ขับรถเฉี่ยว ชน เสยตูด ถูกปาดหน้าเชื่อว่าผู้ขับรถทุกคนคงต้องประสบพบเจอกันมาบ้างแต่ที่สำคัญไม่เจอจะดีที่สุดครับ แล้วถ้าเกิดคราวเคราะห์วันหนึ่งเหตุการณ์นั้นมาเกิดขึ้นกับรถของเราล่ะ ไม่ว่าจะด้วยความประมาทของคนอื่นที่ขับรถมาชนรถเราหรือเป็นเราเองที่ไปชนรถ คนอื่นเข้า นอกจากควรจะมีสติแล้วเราควรปฏิบัติตัวอย่างไรนะเพื่อให้ผ่านเหตุการณ์นี้ไปได้ด้วยดีเนื้อความ จากข่าวดังที่ดาราหนุ่มขับรถชนคนตายนั้น กลายเป็นที่สนใจของคนทั่วไป วันนี้เรามาดูกันว่า หากเราขับรถไปชนกับคนอื่น หรือถูกชนเราควรทำอย่างไร

1. หยุดรถทั้นที ห้ามพูดว่าใครถูกหรือผิด รอประกัน: ให้หยุดรถทันที แม้ว่าจะเห็นว่าเป็นอุบัติเหตุเล็กน้อยเพียงใด อย่าเลื่อนรถจนกว่าจะตกลงกันได้ว่าอุบัติเหตุเกิดขึ้นจากสาเหตุใด ให้รอบริษัทประกันมาเคลียร์จะดีที่สุดเพื่อผลประโยชน์โดยให้บริษัทประกันเป็นฝ่ายคุยกันเอง และถ้าจะให้ดีควรรอให้เจ้าหน้าที่ตำรวจมาทำการตีเส้นอุบัติเหตุก่อน แล้วจึงค่อยเลื่อนรถเว้นแต่จะเกิดอุบัติเหตุในที่เปลี่ยว ในกรณีนี้ให้คุณจดเลขทะเบียนรถคู่กรณี สี ยี่ห้อ ตำหนิ เวลาและสถานที่เกิดเหตุเอาไว้ แล้วขับต่อไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะถึงที่ชุมชน หรือพบตำรวจอย่าจอดรถในที่เกิดเหตุเป็นอันขาด เพราะเคยมีเหตุการเจ้าของรถถูกจี้ หรือถูกทำร้ายบ่อยๆเมื่อลงจากรถ หลังเกิดเหตุในที่เปลี่ยว

2. อย่าพูดพล่อย เพราะอาจถูกกล่าวหาว่าเป็นฝ่ายยอมรับ: การขอโทษของคุณ อาจจะเป็นเหตุให้อีกฝ่ายอ้างขึ้นมาว่า คุณยอมรับเป็นฝ่ายผิด อีกทั้งไม่ควรกล่าวโทษอีกฝ่าย เพราะคุณยังไม่รู้ท่าทีของอีกฝ่าย การกล่าวโทษ อาจทำให้เหตุการเลวร้ายลงไปอีก จำไว้เสมอว่า คุณไม่มีอำนาจในการตัดสินว่าใครผิดใครถูก แม้แต่เวลาที่คุณคิดว่า คุณเป็นฝ่ายผิด คุณอาจจะไม่ผิดอย่างที่คิดก็ได้ อย่างที่กล่าวไว้ให้รอบริษัทประกันมาเคลียร์จะดีกว่า

3.ให้ข้อมูล: ให้คุณให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวคุณ ชื่อ- ที่อยู่เลขทะเบียนรถ และ ชื่อประกันที่คุณ มีแก่คู่กรณี หรือเจ้าหน้าที่ตำรวจ

4. หาข้อมูล: หลังจากคุณให้ข้อมูลดังกล่าวข้างต้นแล้ว คุณควรขอข้อมูลจากคู่กรณีด้วยเช่นเดียวกัน หากอีกฝ่ายไม่ให้ ก็ให้คุณจดเลขทะเบียน รูปพรรณของรถเอาไว้อย่า !พยายามยึดใบขับขี่ของคู่กรณี เพราะคุณอาจโดนข้อหาลักทรัพย์

5. แจ้งตำรวจ หลังเกิดเหตุ: คุณควรแจ้งตำรวจทุกครั้ง แม้จะเป็นเพียงอุบัติเหตุเล็กน้อย หรืออีกฝ่ายยอมรับผิดก็ตาม เพราะมิฉะนั้นแล้ว หากอีกฝ่ายแจ้งความในภายหลัง เจ้าหน้าที่จะสรุปว่าคุณหลบหนี และคุณจะเป็นฝ่ายผิดทุกกรณี หากเจ้าหน้าที่ยังไม่มาให้คุณไปแจ้งความยังสถานีตำรวจ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ดูที่เกิดเหตุ และตีเส้นตำแหน่งรถ อย่าเลื่อนรถจนกว่าเจ้าหน้าที่จะมาถึง หากไม่สามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ได้ ให้คุณทำหนังสือยืนยันเหตุการที่เกิดขึ้นไว้เป็นหลักฐาน โดยลงชื่อยืนยันไว้ทั้ง 2 ฝ่าย อย่าหลงเชื่อคู่กรณี หากบอกว่าไม่ต้องแจ้งตำรวจ เพราะอีกฝ่ายอาจปฏิเสธความรับผิดชอบในภายหลัง ในกรณีนี้ หากคุณไม่มีเจ้าหน้าที่เป็นพยานหรือหนังสือยืนยัน ตามกฏหมายจะถึงว่า คำพูดของคุณอ่อนหลักฐาน

6. หาพยาน: โดยสอบถามจากคนบริเวณที่เกิดเหตุ อาจเป็นคนเดินถนน หรือรถคันข้าง ๆหากเขายินยอมเป็นพยาน ให้คุณจดชื่อ-ที่อยู่เพื่อติดต่อเอาไว้ เพื่อในกรณีเหตุที่ซับซ้อน เช่นคุณกำลังเข้าถนน 4 เลน รถ 2 เลนแรกหยุดให้คุณแล้ว แต่คุณชนรถในเลนที่ 3 ในกรณีนี้ คุณอาจเป็นฝ่ายผิดหากไม่สามารถหาพยานมายืนยันได้

7.ไปโรงพยาบาล: หากคุณสงสัยว่าได้รับบาดเจ็บ ควรไปพอแพทย์เพื่อตรวจ หากปล่อยทิ้งไว้อาจเป็นอันตรายและการเรียกร้องค่าเสียหายใน ภายหลังจะยากขึ้นด้วย

8. แจ้งความ: ในกรณีที่มีผู้บาดเจ็บ หรือเสียชีวิต จะต้องไปแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ทันที แม้กฏหมายจะผ่อนปรนให้แจ้งความใน 6 เดือน เพราะบริษัทประกันส่วนใหญ่ไม่รับรองใบแจ้งความย้อนหลัง

9. ตกลงเงื่อนไข การจ่ายค่าเสียหาย: เรียกเจ้าหน้าที่ประกันภัยมาทันที ที่เกิดเหตุ เจ้าหน้าที่สามารถแนะนำคุณได้ว่า ควรให้บริษัทชดใช้ หรือคุณควรจ่ายเอง เพราะเบี้ยประกันของคุณอาจเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 20 หากค่าชดใช้นั้นเกินกว่าเบี้ยประกัน ร้อยละ 200 (ตามเงื่อนไขของแต่ละบริษัทประกัน)
หากต้องชดใช้ 2,100 บาท ค่าเบี้ยประกันของคุณจะเพิ่มขึ้นเป็น 3,200 บาท คุณอาจจะประหยัดได้มากกว่า หากจ่ายเงินชดใช้ 2,100 บาทเอง

10. อย่ารีบรอมชอม: หลังอุบัติเหตุ หากอีกฝ่ายยอมรับเป็นฝ่ายผิด และคุณสงสัยว่าคุณจะได้รับบาดเจ็บอย่าเพิ่งรีบรับข้อเสนอให้ยอมความ เพราะการบาดเจ็บของคุณ อาจจะต้องใช้เวลาสักพักกว่าจะรู้ว่าอาการของคุณรุนแรงเพียงใด หากคุณยอมความไปแล้ว การเรียกร้องค่าเสียหายเพิ่มเติม จะทำได้ยากขึ้นแต่ถ้าคุณไม่ได้รับบาดเจ็บ และข้อเสนออีกฝ่ายเป็นที่น่าพอใจ ก็ให้คุณยอมความได้ทั้งนี้ทั้งนั้น จากสถิติอุบัติเหตุ ร้อยละ 70 เกิดจากความประมาท การระมัดระวัง เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้คำแนะนำทั้ง 10 จะเป็นการดีที่สุด

9 เคล็ดลับการดับไฟรถ

เคล็ดลับที่ 1

โดยปกติแล้วเพลิงไหม้จะเริ่มต้นจาก 3 จุดของตัวรถคือ
1. ห้องเครื่อง สาเหตุเนื่องจากการรั่วของน้ำมันเชื้อเพลิงหรืดน้ำมันหล่อลื่น
2. ใต้แผงหน้าปัด สาเหตุเนื่องจากการลัดวงจรของระบบไฟฟ้า
3. ที่เบาะหลัง สาเหตุเนื่องจากการทิ้งก้นบุหรี่ออกไปนอกรถแต่กลับปลิวไปตกที่บริเวณเบาะหลังโดยไม่รู้ตัว

เคล็ดลับที่ 2

โดยทั่วไปจะมีถังดับเพลิงอยู่หลากหลายชนิดด้วยกัน แต่ที่ท่านควรจะมีติดรถไว้ก็คือ ถังดับเพลิงชนิด ABC ซึ่งสามารถใช้งานได้หลากหลายอเนกประสงค์กล่าวคือชนิด A มีคุณสมบัติในการดับเพลิงที่เกิดจากเชื้อเพลิงทั่วไปเช่น ไม้ กระดาษ หรือเครื่องเบาะของรถชนิด B มีคุณสมบัติในการดับเพลิงที่เกิดจากของเหลวไวไฟเช่น น้ำมันเครื่อง น้ำมันเชื้อเพลิงชนิด C มคุณสมบัติในการดับเพลิงที่เกิดจากไฟฟ้าลัดวงจรข้อเสียของถังดับเพลิงชนิด ABC ก็คือผงแป้งละเอียดที่ตกค้างหลังจากการใช้งาน จะกัดกร่อนจุดเชื่อมต่อต่างๆของระบบไฟฟ้าและทำความเสียหายกับสมองกลหรือระบบเกียร์อิเลคทรอนิค ดังนั้นท่านต้องทำความสะอาดอย่างทั่วถึงหลังการใช้งานในการดับไฟนั้น ให้ท่านฉีดผงเคมีไปยังฐาน(ต้นกำเนิด)ของเพลิงที่กำลังลุกไหม้อยู่นั้น และกวาดหัวฉีดกลับไปมาอย่างสม่ำเสมอจนกระทั่งไฟดับลง อย่าพ่นสารเคมีไปยังเปลวไฟที่กำลังลุกไหม้อยู่ในอากาศ เพราะนั่นนอกจากจะดับไฟไม่ได้แล้ว ก็ยังทำให้สิ้นเปลืองส่วนประกอบอันมีค่าของเครื่องคับเพลิงไปโดยเปล่าประโยชน์ถ้าหากเกิดไฟไหม้ขึ้นกับเครื่องเบาะรถท่าน ให้ดับไฟที่เบาะด้วยเครื่องดับเพลิงก่อน แล้วจึงรีบดึงเบาะดังกล่าวออกมาจากรถของท่านเพราะบางทีไฟอาจยังคงคุกรุ่นอยู่ในส่วนที่ลึกของเบาะจากนั้นจึงเปิดเบาะออกแล้วฉีดสารเคมีดับเพลิงให้ทั่วถึงต่อไป

Continue reading

วิธีขับรถประหยัดรับหน้าฝน

ขับรถปลอดภัยใครที่มีความจำเป็นต้องเดินทางใช้รถใช้ถนนในช่วงฝนตกนี้ อาจจะต้องทำใจกันหน่อย หากรถจะติดมากกว่าเดิม เพราะฝนที่ตั้งใจเทกระหน่ำลง มาติดๆกันหลายวัน ชนิดที่ทำเอาข้าวของ แผ่นป้ายโฆษณาได้รับความเสียหายหลายๆแห่ง นอกจากเสียเวลาแล้ว ยังทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันมากขึ้นตามไปด้วย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงนี้ราคาน้ำมันยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ประชาชนผู้ขับขี่รถยนต์ ต้องแบกรับภาระจากผลกระทบของราคาน้ำมันที่มาเร็วกว่าทุกครั้ง วันนี้เรามี “7 วิธีที่ประหยัดน้ำมันต้อนรับฤดูฝน”

1. หลีกเลี่ยงการเดินทางในช่วงเวลาหลังฝนตกใหม่ๆ

โดยหันมาใช้การติดต่อกันทางโทรศัพท์ อีเมล์ หรือหันมาใช้บริการขนส่งสาธารณะ เช่น รถไฟฟ้า BTS
รถไฟฟ้าใต้ดินแทนก็จะสะดวกและประหยัดน้ำมัน ทั้งยังช่วยลดปัญหาการจราจร ที่ติดขัด เพราะหากผู้ใช้รถยนต์จำนวนร้อยละ 1 จากจำนวน รถทั้งหมด 8 ล้านคัน หันมาใช้บริการขนส่งสาธารณะ จะช่วยประหยัดน้ำมันได้ปีละ 83 ล้านลิตร หรือคิดเป็นเงินประมาณ 2,500 ล้านบาท (ราคาน้ำมัน 30 บาท ต่อลิตร) Continue reading